โดรน

2471 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โดรน (Drone)

“โดรน” (Drone) หรือ “อากาศยานไร้คนขับ” เป็นอุปกรณ์ที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับสอดแนมพื้นที่ มีจุดกำเนิดขึ้นครั้งแรกตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 อังกฤษได้ใช้ประโยชน์จากโดรนในการถ่ายภาพเส้นทางลำเลียงของกองทัพฝั่งศัตรูกว่า 1500 จุด จนทำให้กองทัพอังกฤษสามารถนำข้อมูลจากภาพถ่ายมาวิเคราะห์และลำเลียงกองทัพภาคพื้นดินหลบหลีกเครื่องกั้นต่างๆ 

 

หลังเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 1 โดรนถูกนำไปพัฒนาต่อตามความต้องการในการใช้งานทางด้านต่างๆ อาทิ การติดตั้งกล้องเพื่อถ่ายภาพจากมุมสูง, การใช้เก็บข้อมูลทางภูมิศาสตร์, การใช้ขนส่งสินค้าและยารักษาโรค, การค้นหาผู้ประสบภัยจากสถานการณ์ต่างๆ เพื่อให้การช่วยเหลือเป็นไปอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการใช้ในอุตสาหกรรมการเกษตรเช่น ฉีดพ่นสารเคมี เป็นต้น

 

โดรนกู้ภัย (Rescue)

          ช่วยในการค้นหาผู้ประสบภัยอย่างรวดเร็ว ระบุจุดร้อนและ คัดกรองความเสี่ยงจากอัคคีภัยเพื่อวางแผนการช่วยเหลือ เพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับบุคลากร พร้อมระบบสแกนพื้นที่ค้นหาเพื่อค้นหาบุคคลที่ติดค้าง และส่งทีมกู้ภัยเข้าช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว ตรวจหาข้อมูลที่สำคัญในเหตุฉุกเฉินต่างๆ เพื่อตัดสินใจได้อย่างทันท่วงที โดยไม่ทำให้ทีมตกอยู่ในอันตราย ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม สามารถกระจายเสียง และส่องแสงสว่าง
ให้ค้นหาผู้ประสบภัยได้ง่ายมากขึ้น

 

 

โดรนเพื่อการเกษตร

          โดรนเพื่อการเกษตร ทำงานได้อย่างรวดเร็วคุณภาพในการฉีดพ่นสารมีความสม่ำเสมอ ทั่วถึง ไม่ทำลายนา
หรือท้องไร่ เนื่องจากโดรนบินเหนือพืชที่เพาะปลูกขนาดกะทัดรัดเหมาะในการขนย้ายไปยังแปลงการเกษตรสามารถใช้สร้างรายได้จากการรับจ้างทางการเกษตรได้สุขภาพร่างกายของผู้ใช้งานห่างไกลจากสารพิษเมื่อเทียบกับวิธีการอื่น

 

โดรนเพื่ออุตสาหกรรม

          โดรนเพื่ออุตสาหกรรม มีการนำโดรนมาใช้เพื่อปฏิบัติภารกิจทางด้านการสำรวจมากขึ้น เช่นการสำรวจเพื่อทำแผนที่ การสำรวจพื้นที่ๆ ที่ยากต่อการเข้าถึง โดยมีการพัฒนาศักยภาพการทำงานของโดรน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและลดข้อจำกัด และสนับสนุนงานสำรวจให้ครอบคลุมมากที่สุดไม่ว่าจะเป็น การสำรวจเก็บข้อมูลภาพถ่ายเพื่อวิเคราะห์ความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ การตรวจสอบแนวท่อส่งก๊าซหรือน้ำมันเพื่อวางแผนติดตั้งและการซ่อมบำรุง
รักษา ตรวจสอบเส้นทางแนวเดินสายไฟฟ้าแรงดันสูงจากภาพถ่ายทางอากาศ การสร้างแบบจำลอง Sketch Up 3D และการวิเคราะห์ขนาด ระยะทางรวมถึงวัดปริมาตรของสิ่งปลูกสร้างถนน

 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้